ไอเจ้าฟิกเกอร์ กับ โมเดลที่เรียก ๆ กันเนี่ย มันต่างกันอย่างไง

วันนี้มีน้อง ๆ ถามเข้ามาว่า “พี่ครับ ไอเจ้าฟิกเกอร์ กับ โมเดลที่เรียก ๆ กันเนี่ย มันต่างกันอย่างไงเหรอ?” อืม มันก็เป็นคำถามที่น่าคิดนะ ซึ่งมันก็ไม่ใช่คำถามที่ตอบยากอะไรนัก ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกันก่อนว่าเจ้าฟิกเกอร์นั้นคืออะไร และโมเดลนั้นคืออะไร ความหมายของมันนั้นแปลว่าอะไร โดยเริ่มกันที่คำว่า “โมเดล” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Model” แปลได้ว่าแบบจำลอง ถ้าในวงการบันเทิงใช้เรียกนายแบบ นางแบบว่า “ซูเปอร์โมเดล” หรือก็คือคนที่มีรูปร่างเปะอย่างกับถอดแบบมาจากมนุษย์ที่เพอร์เฟ็คอะไรประมาณนั้น แต่ในวงการของเล่นนั้นเจ้าโมเดล มันคือแบบจำลองของ รถถัง เครื่องบิน เรือ มนุษย์ ใช้สำหรับตั้งโชว์ หรือเพื่อการศึกษาอย่าง “โมเดลร่างกายมนุษย์” พูดง่าย ๆ ว่ามันเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มพวกของที่ถูกสร้างขึ้นมาตามแบบ จากในภาพยนต์ หรือการ์ตูน หรือจะเป็นอะไรก็ได้ ใช้เรียกเช่นเดียวกับคำพวก “ยานพานหนะ” ซึ่งเรารู้ว่ามันจะเป็นอะไรก็ได้ อย่างรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องบิน หรือ เรือ

ส่วนคำว่า ฟิกเกอร์ (Figure) ถือเป็นโมเดลชนิดหนึ่ง ที่ใช้เรียกของสะสมจากการ์ตูน ภาพยนต์ และเกม เช่นตัวละครต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงจาก Final Fantasy หรือ หุ่นยนต์สุดเท่จากการ์ตูนญี่ปุ่นอย่าง Gundam (หมายถึงตัวที่ต่อสำเร็จมาแล้วนะ ไม่สามารถแยกส่วนได้) ทั้งหมดนี้มักจะเป็นสินค้าที่ขึ้นแบบสำเร็จรูปมาแล้ว คือเป็นตัวเลย ไม่ใช่ต้องนำมาประกอบภายหลังเหมือน ถ้าแบบนั้นเรียกว่า “โมเดล” เฉย ๆ ส่วนถ้าเป็นสินค้าที่มีข้อต่อ สามารถขยับเปลี่ยนท่าทาง แขน ขา หรือใบหัวได้ จะเรียว่า แอ็คชั่นฟิเกอร์ (Action Figure)

 

 

โดยทั้งโมเดล และฟิกเกอร์ ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นมาจากวัสดุประเภทพลาสติก หรือ อื่น ๆ โดยมีการใช้ครั้งแรกใน Hasbro ปี 1964 ในการขายสินค้าตัวละครจากเรื่อง G.I. Joe โดยความพิเศาของมันก็คือสามารถเปลี่ยนชุด และใส่อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ ทำให้กลายเป็นของเล่นที่นิยมสำหรับเด็กชายในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นไม่นานมันก็กลายเป็นของเล่น ของสะสมที่นิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ที่นิยมสร้างฟิกเกอร์จากตัวละครในอนิเมชั่นมาวางขาย และทำยอดขายได้ทั่วโลกอย่างถล่มทลาย โดยเฉพาะทวีปเอเชีย

ส่วนเจ้าโมเดลนี่ ส่วนใหญ่เอาไว้เรียกจำพวกแบบจำลองที่ต้องมานั่งต่อชิ้นส่วน อย่างของ Tamiya Model หรือ Bandai Model ที่เราคุ้นหากันดีก็พวกกันพลา หรือกันดั้มนั่นหละ ที่มันแตกต่างจากฟิกเกอร์ ก็เพราะว่าเราต้องมานั่งต่อชิ้นส่วนตั้งแต่ 100 จนถึง 1,000 ชิ้นด้วยมือ ต้องต่อให้ถูกต้องตามแบบที่เขาให้มา ไม่เหมือนฟิกเกอร์ที่มาทั้งตัว และนำมาตั้งโชว์ หรือเล่นได้เลยเมื่อแกะกล่องนั่นเอง